วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นางสาวนิตยา เสนกระจาย5505010105

การ suction ในผู้ใหญ่







การปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล

1. ให้การพยาบาลผู้ป่วยแบบองค์รวมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ของการดูดเสมหะทุกครั้ง รวมทั้งผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ขณะดูดเสมหะบอกให้หายใจเข้าลึกๆและไอก่อนดูดเสมหะ Siskind พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยเท่านั้น ที่ยอมรับการดุดเสมหะและต้องการดูดเสมหะและพบว่าความกลัวความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์กับปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติ พยาบาลควรให้การพยาบาลอย่างใกล้ชิด
2. คำนึงถึงความสุขสบายของผู้ป่วย
  2.1 บรรเทาความเจ็บปวดจากการดูดเสมหะ โดยเฉพาะในทารกแรกคลอดก่อกำหนดควรห่อตัวทารกก่อนดูดเสมหะ
  2.2 จัดท่าผู้ป่วยให้สะดวกในการใส่สายดูดเสหะ ดังนี้ จัดให้นอนท่าศีรษะสูง ( semi-fowler' position) ตะแคงหันหน้ามาทางพยาบาลลิ้นของผู้ป่วยจะตกมาข้างหน้าสะดวกในการใส่สายดูดเสมหะให้การเคลื่อนของกระบังลมขึ้นลงได้เต็มที่
3. ให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
  3.1 ป้องกันการติดเชื้อ การดูดเสมหะทุกครั้งการพยาบาลต้องปลอดเชื้ออุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ในการดูดเสมหะต้องสะอาดปราศจากเชื้อ หมั่นทำความสะอาดปาก ฟันผู้ป่วย เพื่อลดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น
  3.2 ป้องกันการาเกิดภาวะพร่องก๊าซออกซิเจนในเลือด ( hypoxemia) และเซลพร่องก๊าซออกซิเจน ( hypoxia) หรือขาดออกซิเจน โดยปฏิบัติดังนี้
    3.2.1 การดูดเสมหะ แต่ละครั้ง ผู้ใหญ่ใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที ในเด็กไม่เกิน 5-10 วินาที ก่อนใส่สายดูดซ้ำให้ผู้ป่วยหายใจนาน 3-5 ครั้ง แต่ละรอบไม่ควรดูดเสมหะซ้ำเกิน 3 ครั้ง เพราะการดูดเสมหะที่ใช้เวลานานทำให้ vagus nerve ซึ่งมีตัวรับ ( receptor) อยู่มากตลอดหลอดลมถึง carina ถูกกระตุ้นทำให้หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตลดลงเป็นช่วงๆ เกิดการระคายเคืองของหลอดลมทำให้ไอ ผู้ป่วยจะเหนื่อย เจ็บหน้าอก เกิดหลอดลมหดเกร็ง (bronchospasm) ทำให้เกิดภาวะพร่องออกวิเจน การดูดเสมหะติดต่อกันนาน 15-30 วินาทีทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้
    3.2.2 ผู้ป่วยที่หายใจด้วยเครื่องหายใจเบนเนตก่อนและหลังดูดเสมหะต้องให้ก๊าซออกซิเจนความเข้มข้นเพิ่ม (hyperoxygenate) จากเดิมที่ได้รับ 20 % นาน 1-2 นาที ทางเครื่องช่วยหายใจเบนเนต์เพื่อลดการเกิดภาวะพร่องก๊าซออกซิเจน ในรายที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่ใช้ self inflating bag ควรให้ก๊าซออกวิเจน 100 % และบีบ self inflating bag นาน 2-3 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้แรงดันก๊าซออกซิเจน (PaO2) ลดลง แต่ถ้ามีเสมหะอยู่ส่วนบนท่อหลอดลมคอห้ามบีบ self inflating bag จะทำให้เสมหะดันลึกลงทางเดินหายใจ ถ้าดูดเสมหะแล้วผู้ป่วยยังคงกระสับกระส่ายอัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ต้องหยุดดูดเสมหะแสดงว่าขาดออกวิเจนให้ก๊าซออกซิเจน 100 % เข้ากับ self inflating bag บีบจนอาการดีขึ้น
    3.2.3 หยุดดูดเสมหะทันที ถ้าผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่ดี เช่น หายใจลำบาก อาการเขียว หน้านิ่วคิ้วขมวด เป็นต้น รีบใช้ self inflating bag, reservoir bag ต่อกับก๊าซออกซิเจน 100 % หรือให้ก๊าซออกซิเจน 10 ลิตรต่อนาทีบีบลมเข้าปอดนาน 10-20 นาที ระหว่างรายงานแพทย์
    3.2.4ขณะใส่สายดูดเสมหะเข้าท่อหลอดลมหรือท่อเจาะหลอดลมคออย่าให้มีแรงดูดจากเครื่องเพราะแรงดูดจะดูดอากาศและก๊าซออกซิเจนออกจากท่อทางเดินหายใจ
  3.3 ป้องกันเซลเยื่อบุหลอดลมอักเสบ เลือดออก เกิดอันตราย
    3.3.1 ผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจชนิดมีกระเปาะใส่ลม ก่อนดูดเสมหะใช้ syringe ดูดลมออกจากกระเปาะให้แฟบ เพื่อลดการกดของกระเปาะลูกโป่งต่อเซลเยื่อบุหลอดลม ทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นเพียงพอ ไม่เกิดภาวะ necrosis
    3.3.2 ปรับแรงดูดเครื่องดูดเสมหะให้ถูกต้องเหมาะสม ดังนี้
- แรงดูดของเครื่องชนิดติดฝาผนัง ผู้ใหญ่ แรงดันไม่เกิน 80-120 มม.ปรอท เด็กโต 80-100 มม.ปรอท เด็กเล็ก 60-100 มม.ปรอท ทารกแรกเกิด 40-60 มม.ปรอท
- แรงดูดของเครื่องชนิดรถเคลื่อนที่ใช้ไฟฟ้า ผู้ใหญ่แรงดันไม่เกิน 10-15 มม.ปรอท เด็กโต 5-10 มม.ปรอท เด็กเล็ก 2-5 มม.ปรอท
3.4 ป้องกันการเกิดภาวะปอดแฟบ ( lung collapse) ต้องเลือกใช้สายดูดเสมหะขนาดพอเหมาะ สายดุดเสมหะควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ? ของท่อ หลอดลมคอชั้นนอกหรือผู้ใหญ่ใช้เบอร์ 14-16 Fr. เด็กเบอร์ 8-10 Fr. การใช้สายดูดเสมหะขนาดใหญ่ ทำให้มีช่องว่างไม่เพียงพอสำหรับอากาศจากภายนอกเข้าไปแทนที่อากาศที่ดูดออกมาทำให้ปิดแฟบได้
4. เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ครบถ้วน ถูกต้อง
  4.1 อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับการดูดเสมหะมีดังนี้
    4.1.1 Stetoscope ฟังเสียงเสมหะ
    4.1.2 เครื่องดูดเสมหะอาจเป็นชนิดติดฝาผนังหรือรถเคลื่อนที่ใช้ไฟฟ้า ตัวเครื่องมีอุปกรณ์บอกแรงดันของเครื่อง ด้านหนึ่งต่อกับท่อยางหรือท่อพลาสติกที่ปลายของอีกด้านต่อกับหลอดแก้วรูปตัววาย ( Y) หรือท่อพลาสติกซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมแรงดูดสูญญากาศ ถ้าต้องการให้มีแรงดูดใช้นิ้วหัวแม่มือปิด แรงดูดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเผยอนิ้วหัวแม่มือ อีกชนิดหนึ่งไม่มีอุปกรณ์ควบคุมแรงดูดสูญญากาศ ขณะสอดสายเข้าหลอดลม ถ้าไม่ต้องการแรงดูดให้หักพับสายและปล่อยสายที่พับ เมื่อต้องการแรงดูดเสมหะ
    4.1.3 กล่องบรรจุสายดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อมีถุงพลาสติกห่อหุ้ม สายทำจากสาร พีวีซีที่ใช้ทางการแพทย์ปลายด้านหนึ่งสำหรับต่อกับสายเครื่องดูดเสมหะ ปลายอีกด้านหนึ่งสอดเข้าท่อหลอดลมคอมีรูเดียว หรือหลายรูเพื่อให้มีช่องว่าง สะดวกต่อการดูดเสมหะและป้องกันการอุดตัน ขนาดของสายความยาว 50- 60 ซม. สายดูดเสมหะใช้ครั้งเดียวทิ้งเนื่องจากมีต้นทุนต่ำกว่าและการใช้ซ้ำพบมีสิ่งตกค้างในสาย และสายมีความแข็งเพิ่มขึ้น
    4.1.4 ภาชนะปิดฝาปลอดเชื้อภายในใส่ถุงมือปราศจากเชื้อ อาจเป็น 1 คู่ หรือข้างเดียว
    4.1.5 ปากคีบ ( forcep) ปราศจากเชื้อแช่ในกระปุกน้ำยาระงับเชื้อ
    4.1.6 ขวดน้ำต้มสุก 1 ขวด สำหรับล้างสายยางที่ใช้ดูดเสมหะแล้ว
    4.1.7 ภาชนะใส่น้ำยาระงับเชื้อ เช่น น้ำยา Verkon 0.5 % ประมาณครึ่งภาชนะสำหรับแช่สายยางและถุงมือที่ใช้แล้ว
    4.1.8 อับสำลีปิดฝาปลอดเชื้อ ภายในบรรจุสำลีปราศจากเชื้อ
    4.1.9 Alcohol 70% 1 ขวด
    4.1.10 กรณีผู้ป่วยเสมหะเหนียวเตรียม syringe ขนาด 2 ซีซี บรรจุ NSS. 0.9% ช่วยละลายเสมหะ อุปกรณ์ทุกชนิดปราศจากเชื้อ





 4.1.11 กรณีผู้ป่วยใส่ท่อหลอดลมคอชนิดพลาสติกที่มีกระเปาะลูกโป่ง เตรียม syringe ปราศจากเชื้อขนาด 5-10 ซีซี. 1 เครื่อง เพื่อเอาลมออกก่อนดูดเสมหะ และใส่ลมเข้ากระเปาะขนาดเหมาะสม หลังดูดเสมหะ
       4.1.12 กรณีต้องการทำความสะอาดท่อหลอดลมคอชั้นใน ( inner tube) ให้เตรียมชามรูปไต 1 ใบ
       4.1.13 กรณีทำความสะอาดแผลผ่าท่อหลอดลม เตรียมอุปกรณ์ดังนี้
ก. ชุดทำแผลปราศจากเชื้อ 1 ชุด ภายในประกอบด้วยสำลี ไม้พันสำลี ผ้าก๊อซตัดเป็นรูปตัววาย ถ้วยเล็กสำหรับใส่น้ำยาทำความสะอาดแผล 2 ถ้วย ปากคีบ 2 อัน ( มีเขี้ยว 1 อัน ไม่มีเขี้ยว 1 อัน)
ข. Alcohol 70 % 1 ขวด
ค. Normal Saline 0.9% 1 ขวด หรือ Sod. Bicarbonate 2.5% 1 ขวด
ง. ชามรูปไต หรือถุงพลาสติกสำหรับใส่สิ่งของใช้แล้ว 1 ใบ
จ. ปลาสเตอร์ปิดแผล
ฉ. ถุงมือ disposable 1 คู่
      4.1.14 กรณีแถบที่ผูกท่อหลอดลมคอชั้นนอกคอสกปรกหรือเสมหะติดจนแห้งแข็งหรืออย่างน้อยเปลี่ยนสัปดาห์ละครั้ง ให้เตรียมแถบผ้าผูกคอโดยใช้กรรไกรตัดแถบผ้าผูกคอเป็น 2 เส้นก่อนตัดแต่ละเส้นให้ทบผ้าเป็น 2 ชิ้นให้เส้นหนึ่งยาวกว่าอีกเส้นหนึ่งเพราะหลังผูกคอปมจะได้ไม่อยู่หลังคอผู้ป่วย ทำให้เกิดความรำคาญและให้มีชายแถบผ้าเหลือพอประมาณ
      4.1.15 กรณีต้องการเก็บเสมหะ เตรียมขวดเก็บเสมหะปลอดเชื้อด้วย
5. ปฏิบัติการพยาบาลดูดเสมหะตามขั้นตอนอย่างถูกวิธี ดังนี้
  5.1 ประเมินเสียงหายใจของผู้ป่วยโดยใช้การฟังเสียงด้วยหู หรือ stethoscope เพื่อประเมินปริมาณของเสมหะในทางเดินหายใจ
  5.2 บอกผู้ป่วยให้ทราบเพื่อลดความวิตกกังวล และให้ความร่วมมือในการพยาบาล
  5.3 จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม
  5.4 ใช้สำลีชุบ alcohol 70% เช็ดบริเวณปลายหลอดแก้วรูปตัววายที่ต่อจากสายดูดเสมหะ และวางไม่ให้สายถูก contaminate ป้องกันการติดเชื้อ
  5.6 เตรียมสายยางพร้อมใช้งานอย่างถูกวิธี aseptic technique โดยใช้มือฉีกตามรอยปรุของถุงหุ้มพลาสติกชั้นนอก อย่าให้โดนถุงหุ้มชั้นใน วางพาดไม่ให้ถุงหุ้มด้านในถูก contaminate
5.7 หยิบสายไม่ให้ contaminate โดยมือข้างถนัด สวมถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อ มืออีกข้างจับถุงพลาสติกด้านนอกที่หุ้มสายยาง ใช้มือข้างที่สวมถุงมือหยิบถุงพลาสติกด้านในออกจากนั้นใช้มืออีกข้างช่วยจับถุงพลาสติกด้านในเพื่อฉีกถุง และใช้มือข้างที่สวมถุงมือปราศจากเชื้อค่อยๆหยิบสายยางออกให้พ้นถุงและรวบปลายสายไว้ในมือ จากนั้นใช้มือข้างที่ไม่ได้สวมถุงมือจับสายที่ต่อกับเครื่องดูดเสมหะ มือข้างที่สวมถุงมือจับปลายสายดูดเสมหะต่อเข้ากับสายจากเครื่อง ระวังไม่ให้สายดูดเสมหะ contaminated ใช้มือที่ไม่สวมถุงมือเปิดเครื่องดูดเสมหะปรับให้ได้แรงดันที่เหมาะสม กรณีสวมถุงมือทั้งสองข้าง ยึดหลัก aseptic technique
  5.8 ใช้หลัก aseptic technique สอดสายยางดูดเสมหะผ่านเข้าช่องทางเดินหายใจที่ต้องการดูดเสมหะ ดังนี้
     5.8.1 กรณีผ่านเข้าท่อหลอดลมหรือท่อเจาะหลอดลมคอ ห้ามใส่ขณะผู้ป่วยกำลังกลืนเพราะสายยางดูดเสมหะอาจเข้าหลอดอาหาร สอดสายดูดเสมหะอย่างรวดเร็ว นุ่มนวล ถ้าสายจากเครื่องมีหลอดแก้วรูปตัววาย ( Y) หรือท่อพลาสติกขณะใส่สายไม่ปิดปลายหลอดแก้วรูปตัววายหรือท่อพลาสติก ถ้าสายที่ต่อจากเครื่องเป็นชนิดไม่มีแรงดูดสุญญากาศขณะใส่สายยางหักหรือพบสายด้วย โดยปกติใส่สายลึกถึงระดับ carina แล้วดึงสายขึ้นมา 1 เซนติเมตร ผู้ป่วยที่มีเสมหะในปอดมากอาจใส่ลึกถึงหลอดลมแยกแต่ต้องจัดท่าผู้ป่วยให้สัมพันธ์กับข้างที่เสมหะค้างในปอด จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่ากึ่งนั่ง กึ่งนอน ท่านั่ง ( fowler's position) หันหน้าไปทางทิศตรงข้ามกับหลอดลมข้างที่ใส่สายดูดเสมหะ ใส่สายเข้าไปลึกประมาณ 15- 20 ซม.
      5.8.2 กรณีผ่านช่องจมูก ( nasopharynx) เพื่อดูดเสมหะออกจากช่องทางเดินหายใจส่วนบน โดยกะระยะความยาวของสายจากปลายจมูกถึงติ่งหูหรือประมาณ 13 ซม.ในผู้ใหญ่ 8-12 ซม.ในเด็กโต 4-8 ซม.ในเด็กเล็ก ใช้นิ้วมือข้างสวมถุงมือทำเครื่องหมายไว้ หล่อลื่นสายด้วยน้ำกลั่นหรือน้ำเกลือปลอดเชื้อก่อนเพื่อลดการระคายเคืองช่องจมูกและสอดสายได้สะดวก สอดสายขณะหายใจเข้าให้ชิดผนังจมูกด้านล่างป้องกันการชน nasal turbinates
      5.8.3 กรณีผ่านทางปาก ( oropharynx) สอดสายดุดเสมหะเข้าทางข้างๆปากจนถึง oropharynx เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยขย้อน (gaging) สอดสายเข้าไปลึก 10 ซม.
5.9 เริ่มดูดเสมหะโดยใช้นิ้วหัวแม่มือข้างที่ไม่สวมถุงมือปิดปลายหลอดแก้วรูปตัววายหรือท่อพลาสติก ถ้าเป็นชนิดไม่มีแรงดูดสุญญากาศปล่อยมือที่หักหรือพับสาย ขณะเดียวกันมือข้างสวมถุงมือหมุนสายยางลักษณะ 360 องศา ขณะค่อยๆดึงสายยางขึ้นเพื่อให้การดูดเสมหะมีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้เวลาในการดูดแต่ละครั้งอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ปอดขาดก๊าซออกซิเจน เนื่องจากการดูดใช้ความดันลบ
   5.10 กรณียังมีเสมหะค้าง ก่อนดูดเสมหะให้ปฏิบัติ ดังนี้
      5.10.1 เว้นระยะให้ผู้ป่วยหายใจ 3-5 ครั้ง หรือ 2-3 นาที ในรายที่ได้รับออกซิเจนต้องให้ก๊าซออกซิเจนระหว่างพักการดูดเสมหะ
      5.10.2 ในแต่ละครั้งไม่ควรดูดเสมหะเกิน 3 ครั้ง หรือไม่เกิน 5 นาที
   5.11 ขณะดูดเสมหะ สังเกต สี ลักษณะ จำนวน ของเสมหะ และอาการแสดงของผู้ป่วย เช่น อาการ กระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเขียว เป็นต้น
   5.12 กรณีผู้ป่วยเสมหะเหนียว ช่วยละลายเสมหะโดยใช้น้ำเกลือ NNS ที่เตรียมไว้ โดยปลดเข็มออกจาก syringe หยดน้ำเกลือ NNS ปราศจากเชื้อลงในท่อหลอดลมคอ ก่อนการดูดเสมหะจะช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ทำให้ดูดออกได้ง่าย โดยหยดประมาณ 2-5 ซีซี. ในผู้ใหญ่ และ 0.5-1 ซีซี. ในเด็ก
   5.13 หลังเลิกดูดเสมหะ ล้างสายเครื่องดูดเสมหะเพื่อไม่ให้เสมหะอุดตันสายยางและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคโดยวิธีดูดน้ำสะอาดในขวดที่เตรียมไว้ จากนั้นปิดเครื่องดูด ปลดสายยางและถอดถุงมืออย่างถูกวิธี ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
   5.14 เช็ดทำความสะอาดหลอดแก้วรูปตัววายหรือท่อพลาสติก ด้วยสำลีชุบ alcohol 70%
   5.15 กรณีถอดท่อหลอดลมคอชั้นในออกทำความสะอาดใส่ชามรูปไต ล้างด้วยผงซักฟอกให้สะอาดและต้มให้เดือดนาน 30 นาที หลังจากสะอาดปราศจากเชื้อ และเย็นแล้วให้นำมาใส่อย่างถูกต้องล๊อกให้เรียบร้อยกันหลุด 5.16 ถ้าต้องการเก็บเสมหะเพื่อส่งตรวจเพาะเชื้อ ต่อสายดูดเสมหะเข้ากับสายยางของหลอดเก็บเสมหะ สวมสายต่อจากเครื่องดูดเสมหะเข้ากับท่ออากาศของหลอดเก็บเสมหะ ปลดสายดูดเสมหะและสายต่อจากเครื่องดูดเสมหะออกจากหลอดเก็บเสมหะ เอาปลายสายยางของหลอดเก็บเสมหะสวมเข้ากับท่ออากาศเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
   5.17 บันทึกในแผ่นบันทึกการพยาบาลเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงผู้ป่วย จำนวน สี กลิ่นเสมหะ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น